คลัง เผย 2 เดือนแรก ปีงบ 65 รัฐจัดเก็บรายได้ ได้แล้วกว่า 3.6 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้า 1.8 หมื่นล้านบาท หลังกรมสรรพากรจัดเก็บรายได้จากภาษีได้กว่า 2.5 แสนล้าน เกินเป้า 8.3% และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ สูงกว่าประมาณการ 5,659 ล้านบาท
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม – พฤศจิกายน 2564) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 361,955 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 18,139 ล้านบาท หรือ 5.3% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.5%
โดยการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร กว่า 250,926 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 19,307 ล้านบาท หรือ 8.3% จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สูงกว่าประมาณการ และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ สูงกว่าประมาณการ 5,659 ล้านบาท หรือ 15.0% เนื่องจากการนำส่งรายได้ซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน มากกว่าประมาณการเป็นสำคัญ
ขณะที่การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิต ต่ำกว่าประมาณการ 8,755 ล้านบาท หรือ 9.5% เพราะประมาณการกรมสรรพสามิตได้รวมผลของการปรับโครงสร้างภาษีไว้ ซึ่งชะลอการดำเนินการออกไปก่อนเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และส่วนราชการอื่น ต่ำกว่าประมาณการ 5,138 ล้านบาท หรือ 22.4% จากที่มีการปรับลดอัตราค่าปรับและค่าธรรมเนียมของส่วนราชการเพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการ
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 65 กรมภาษีสำคัญ ทั้งกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ตั้งเป้าหมายจัดเก็บรายได้ตามเอกสารงบประมาณ 2.56 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ลดลงไป 2.6 แสนล้านบาท จากเป้าหมายปีงบประมาณ 64 ที่ตั้งไว้ 2.82 ล้านล้านบาท เนื่องจากกระทรวงการคลังได้ประมาณการณ์รายได้ใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด
ทั้งนี้ กรมสรรพากร ตั้งเป้าหมายจัดเก็บรายได้ตามเอกสารงบประมาณปี 2565 ไว้ที่ 1.87 ล้านล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ตั้งไว้ 2.08 ล้านล้านบาท โดยรายได้สรรพากร ส่วนใหญ่มาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากนี้ยังมีรายได้ใหม่จากการเก็บภาษีอีเซอร์วิส ซึ่งจัดเก็บปีงบฯ 65 เป็นปีแรก ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 10,000 ล้านบาท
ขณะที่ภาษีสรรพสามิต ตั้งเป้าหมายจัดเก็บที่ 592,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ตั้งเป้าไว้ 634,000 ล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากการจัดเก็บภาษีน้ำมันกว่า 2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด รองลงมาเป็นภาษีบาป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ บุหรี่ และยาเส้นกว่า 2 แสนล้านบาท ภาษีรถยนต์ 1 แสนล้านบาท และภาษีอื่นๆ อีกเกือบ 1 แสนล้านบาท
ด้านกรมศุลกากร ตั้งเป้าหมายจัดเก็บรายได้ปีนี้ที่ 1 แสนล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากปีที่แล้ว เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการนำเข้าและส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มสินค้าที่จัดเก็บภาษีได้สูง ได้แก่ รถยนต์ และสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และสินค้าวัตถุดิบ